วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ.2562 
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
ห้องเรียน 34-301 เวลาเรียน 08.30-12.30



วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาอกมานำเสนอการทดลองที่แต่ละกลุ่มได้เลือกไว้ อาจารย์ได้อธิบายวิธีการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนการพูด อาจารย์ได้พูดถึงทักษะทางวิทยาศาสตร์ 

ทักษะทางวิทยาศาตร์ 
 ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation)
ความหมาย : เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การดม การฟัง การชิม และการสัมผัส ทั้งนี้โดยไม่ใส่ความเห็นหรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตลงไป
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเป็น ข้อมูลเชิงประจักษ์
 
     ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement)
ความหมาย : เป็นการเลือกและการใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้เหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกํากับเสมอ
 ทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือนความแตกต่าง ความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
     ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่างความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
    แกมมาออริซานอล Gamma Oryzanol มีคุณสมบัติดังนี้
     ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number)
ความหมาย : เป็นการนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวน โดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย

     ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)
ความหมาย : เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยการหาความถี่เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นดีขึ้น โดยการนำเสนอในรูปของตารางแผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟสมการ หรือการเขียนบรรยาย

     ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
ความหมาย : เป็นการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาช่วย

     ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction)
ความหมาย : เป็นการาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์ที่เกิดซํ้า ๆ หลักการ กฏ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป เช่น การพยากรณ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเลข ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตาราง หรือ กราฟ ซึ่งทำได้ 2 แบบ คือ
1. การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูล
2. การพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล

     ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
ความหมาย : เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัยการสังเกตความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นฐาน

     ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)
ความหมาย : เป็นการกําหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตได้หรือวัดได้ โดยให้คำตอบเกี่ยวกับการทดลองและบอกวิธีวัด
ตัวแปรที่เกี่ยวกับการทดลองนั้น

     ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)
ความหมาย : เป็นการบ่งชี้ตัวแปนต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในการตั้ง สมมติฐานหนึ่งๆ

     ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment)
ความหมาย : เป็นกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ในการทดลอง ซี่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การออกแบบการทดลอง
2. การปฏิบัติการทดลอง
3. การบันทึกผลการทดลอง

     ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making)
ความหมาย : เป็นการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายของข้อมูล ในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ ด้วย เช่น การสังเกต การคำนวน เป็นต้น และการลงข้อสรุป หมายถึง การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด การลงข้อสรุป สามารถทำได้ 2 ระดับ คือ
1. การสรุปในระดับแคบ คือ การสรุปให้อยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างหรือสิ่งที่นำมาศึกษา
2. การสรุปในระดับกว้าง คือ การสรุปที่ออกนอกขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างแต่เป็นการขยายกว้างไปสู่ประชากรหรือกลุ่มใหญ่ ข้อสรุปนี้มีความเชื่อถือได้น้อยกว่าแบบแรก


จากนั้น....................
อาจารย์ได้ให้นักศึกษานั่งจับกลุ่ม โดยอาจารย์แจกกระดาษกลุ่มละ 1 แผ่น ให้ช่วยกันวาดแหล่งน้ำที่ตนเองอละเพื่อนๆรู้จักโดยไม่บอกชื่อ ให้เพื่อนทายว่าแหล่งน้ำที่เราวาดคืออยู่ที่ไหน กิจกรรมนี้ ได้ฝึกการทำงานร่วมกันกับเพื่อน ได้มีการนำประสบการณืเดิมมาใช้ ได้สังเกตของเพื่อนแต่ละกลุ่ม 



พอวาดรูปเสร็จอาจารย์ก็ได้นำกระดาษหนังสือพิมพ์มาแจกให้นักศึกษากลุ่มละ 5 แผ่น โดยอาจารย์บอกว่า เมื่อมีแหล่งน้ำแล้วเราต้องสร้างที่กีกเก็บน้ำดดยการให้นักศึกษาสร้างแท้งน้ำ โดยการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ 5 แผ่น กาวหนังไก่ ดดยกำหนดว่า ความสูงต้องเกิน 5 ฝ่ามือขึ้นไป (จะมีฝ่ามือกระดาษที่อาจารย์ได้ทำไว้ให้แล่้ว) 
กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำกระดาษหนังสือพิมพ์มาม้วนเป้นแท่งเล็กๆ แล้วพันด้วยกาวหนังไก่จนแน่น แล้วทำปุ้มข้างบนเพื่อจะวางพานไม่ให้ล้ม 




เพื่อนแต่ละกลุ่มได้สร้างสรรค์แท้งน้ำของตนเองออกมาได้อย่างแข็งแรง 
และการทดสอบก็ได้เริ่มขึ้น อาจารย์อยากรู้ว่าแท้งน้ำของกลุ่มใดแข็งแรงที่สุดอาจารย์เลยนำ กระเป๋าดินสอวางใส่พานลงไปอีกชั้น เพื่อทดสอบความแข็งแรง ทุกกลุ่มผ่านไปได้ และอาจารย์ได้เพิ่มน้ำหนักขึ้น เป็นกระปุกกาว และขวดน้ำส้มสายชู และสุดท้าย ขวดน้ำส้มสาชูกับกระปุกกาวสองอย่างรวมกัน จะเห้นได้ว่า ฐานของแท้งน้ำแต่ละกลุ่มไม่แข็งแรงพอพี่จะรับน้ำหนักไหว 
แต่มี สองกลุ่มที่รับน้ำหรักไหว เพราะ อีกกลุ่มฐานของแท้งใหญ่และปุ้มพอเหมาะกับตูดพาน ส่วนอีกกลุ่ม ได้มีปากกาดามขาไว้ 

จะเห็นได้ว่า การทำงานร่วมกันต้องอาศัยความเข้าใจ การร่วมมือร่วมใจของคนในกลุ่มเป้นอย่างมาก 

และกิจกรรมในคาบนี้ ได้เรียนรู้ทั้งทางด้าน สังเกต เปรียบเทียบ การใช้ประสบการณ์เดิมเข้ามาช่วย 

รูปขณะทำกิจกรรม






คำศัพท์ 
1.Light        แสง
2.Basic        พื้นฐาน
3.Artificial   ประดิษฐ์
4.Test         การทดลอง
5.Compare เปรียบเทียบ

การประเมิน 
อาจารย์     อาจารย์สนใจและคอยให้คำแนะนำนักศึกษาได้เป็นอย่างดี 
นักศึกษา    ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานและมีการช่วยเหลือกันและกัน 
ตนเอง       ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ได้เตรียมมาให้ 



ผู้บันทึก
นางสาวณัฏฐา กล้าการนา 
สาขาการศึกษาปฐมวัย 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น