บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562
อาจารย์ผู้สอน ดร.จิตนา สุขสำราญ
ห้องเรียน 34-301 เวลาเรียน 08.30-12.30
คาบนี้นักศึกษาทุกกลุ่มได้เตรียมตัวมาพรีเซนต์การทดลองของตนเองที่ได้เลือกไว้ โดยอาจารย์จะคอยนั่งดูและให้คำแนะนำนักศึกษา โดยจะมีเพื่อนคอยมาเป็นเด็กนักเรียน คอยมาทำการทดลองของเพื่อนแต่ละกลุ่ม พอพรีเซต์เสร็จอาจารย์ก็จะเสนอแนะเลยเพราะถ้าปล่อยไปอาจจะนำเทคนิกที่สอนในวันนี้ไปสอนเด็กในอนาคตอาจารย์จึงต้องรีบแก้ไขและบอกเทคนิคที่ถูกต้องให้กับนักศึกษาอย่างเร่งดวน และวันที่ 11 ตุลาคม นักศึกษาทุกกลุ่มต้องไปลงทำกิจกรรมกับเด็กๆที่ ศูนย์เด็กปฐมวัยชุมชนเสือใหญ่
กลุ่มของข้าพเจ้าทำการทดลองเรื่อง
กลุ่มของข้าพเจ้าทำการทดลองเรื่อง
เรื่องน้ำ
ปรากฏการณ์ การละลาย
สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
เกลือและน้ำตาลละลายน้ำได้ดีราวกับว่ามันหายไปในน้ำแต่แท้ที่จริงแล้วเกลือและน้ำตาลไม่ได้หายไปไหน
ทดลองด้วยการชิมรสชาติของน้ำซึ่งจะเปลี่ยนไปตา ตัวถูกละลายเมื่อเด็กๆเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดตามชายทะเลจะเห็นนาเกลือ
เกลือเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ภาพรวมการทดลอง
น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี
เด็กๆสามารถเรียนรู้ได้จากการนำเกลือมาละลายน้ำ ซึ่งเกลือจะละลายน้ำได้
แต่เมื่อนำทรายปริมาณเท่ากันมาใส่ในน้ำ จะพบว่าทรายไม่ละลายน้ำและให้ทดลองนำน้ำเกลือกลับคืนมาเป็นผลึกเกลืออีกครั้ง
วัสดุอุปกรณ์
สำหรับการทกลองรวม
-ถ้วยตวง
ขวดเปล่าสำหรับใส่น้ำ
-ช้อนสำหรับตักทรายและเกลือ
-ปากกาเคมี
-ทราย
-น้ำอุ่น
-เกลือ
สำหรับเด็ก 2-3 คน
-แก้วน้ำขนาดเท่ากัน 2
ใบ
-ช้อนชา 1 คัน
-กล่องกระดาษหรือชาม
สำหรับใส่ทราบและเกลือ 2 ใบ
สำหรับการทดลองเพิ่มเติม
-ภาชนะแบนขนาดใหญ่
เช่นจานรองกระถางต้นไม้
-ถาดรองที่ทนไฟได้ เช่น
เซรามิก
-ช้อนชาและไม่หนีบผ้า
-เทียนเล่มเล็กและไฟแช็ก
(รูปที่ 1)
แนวคิดหลักของการทดลอง
-น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีมาก
เกลือและน้ำตาล (ตัวถูกละลาย) ละลายได้ดีในน้ำ ทรายไม่ละลายน้ำ
-การระเหยน้ำออกมาสามารถแยกเกลือหรือน้ำตาลออกจากน้ำได้
เริ่มต้นจาก
-ให้เด็กๆนำสิ่งของหรือวัสดุต่างที่คิดว่าสามารถลพลายนำได้มาจากบ้าน
โดยให้เด็กทำการทดลองเอง
-สำหรับการทดลองที่เตรียมไว้ให้เด็กนั้นให้เด็กๆช่วยกันล้างทำความสะอาด
และไม่ควรเทน้ำล้างทรายทิ้งลงท่อน้ำ แต่ให้เทลงบนดิน เพื่อนป้องกันการอุดตัน
-ให้เด็กๆตวงทรายและเกลือ 2-3ช้อน ชา และเทแยกกันลงบนกระดาษหรือถ้วยที่เตรียมไว้
เพื่อจะได้เห็นว่ามีเกลือปริมาณเท่าใดที่ละลายน้ำได้
-เทน้ำอุ่นลงในแก้วสองใบที่เตรียมไว้ให้มีปริมาณเท่ากันอย่างน้อยครึ่งแก้ว
หลังจากนั้นใช้ปากกาเคมีขีดบอกระดับน้ำไว้บนแก้ว (รูปที่ 2)
ทดลองต่อไป
-ถามว่า
ระดับน้ำในแก้วจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เมื่อเททรายลงไป หลังจากเด็กตอบ ให้เด็กตักทรายใส่ลงมนแก้วใบแรกทีละช้อน
-ถามเด็กๆว่าระดับน้ำจะสูงขึ้นหรือไม่เมื่อเทเกลือใส่ลงไปหลังจากนั้นให้เด็กตักเกลือใส่ลงไปในแก้วใบที่สองทีละช้อน
พร้อมกับคนให้เข้ากันเพื่อให้เกลือละลายน้ำ (รูปที่ 3)
-เมื่อเกลือละลายน้ำหมดแล้วให้เด็กๆนำแก้วทั้งสองใบมาวางตั้งไว้ข้างๆกันเพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำ
(รูปที่ 4 )
-ถามเด็กๆว่าเกลือที่ใส่ลงไปอยู่ที่ไหน
ตัวทำละลาย
เกิดอะไรขึ้น
ตามธรรมชาติแล้วทรายจะไม่ละลายน้ำแต่จะทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น
โดยทรายจะแรกเข้าไปแทนที่น้ำ (ตกตะกอน) และดันน้ำให้สูงขึ้น
เกลือละลายได้อย่างรวดเร็วในน้ำอุ่น
เมื่อเกลือละลายน้ำจนหมด
ระดับน้ำก็ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อใส่เกลือเพิ่มจนไม่สามารถละลายได้อีกเพราะน้ำอิ่มตัว
ระดับน้ำจะสูงขึ้น
คำแนะนำ
น้ำเกลือที่ละลายน้ำแล้วนั้นไม่ต้องเททิ้ง
ให้รินลงบนภาชนะแบนที่เตรียมไว้ แล้วนำไปวางไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง (เช่น
กลางแดด) ตั้งทิ้งไว้สักครู่เด็กๆจะเห็นผลึกเกลือปรากฏขึ้น
อาจนำน้ำเกลือใส่ในช้อนกระเบื้องทนไฟแล้ววางลงเปลวไฟจากเทียน
เพื่อให้การระเหยออกไป
เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วได้รับอันตรายจากความร้อนให้ใช้ไม้หนีบผ้าหนีบช้อนไว้
(รูปที่ 5) น้ำจะระเหยอย่างรวดเร็วและสีผลึกเกลือเกิดขึ้น
สามารถนำน้ำตาลมาทดแทนเกลือได้
เมื่อนำน้ำตาลมาปริมาณเท่ากับเกลือมาละลายน้ำระดับน้ำจะสูงขึ้นเนื่องจากผลึกน้ำตาลมีขนาดใหญ่กว่าผลึกเกลือ
ทำให้สารละลายอิ่มตัวได้เร็วกว่า
ทำไมเป็นเช่นนั้น
เม็ดเกลือ 1 เม็ดประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆมากมายซึ่งเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
เมื่อเกลือสัมผัสกับน้ำ เม็ดเกลือเล็กๆที่จับตัวกันอยู่จะแยกออกจากกัน
น้ำเกิดการยึดเหนี่ยวกันของโมเลกุล
น้ำหลายโมเลกุลซึ่งทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกัน เม็ดเกลือมีขนาดเล็กจึงสามารถแทรกเข้าไปอยู่ในช่องน้ำได้
น้ำเปรียบเสมือนบ้านขนาดใหญ่ที่มีห้องจำนวนมากเมื่อมีคนย้ายเข้ามาเรื่อยๆ
ขนาดของบ้านไม่ใหญ่ขึ้นตามจำนวนคน
เมื่อมองจากภายนอกไม่สามารถมองเห็นได้ว่ามีคนอยู่ในบ้านหรือไม่ เช่นเดียวกับน้ำ
เมื่อเม็ดเกลือแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลของน้ำ ขนาดของน้ำไม่ใหญ่ขึ้นตาม
ทำให้ระดับน้ำแทบไม่เปลี่ยนแปลง
ในทางตรงกันข้าม
เม็ดทรายจับคัวกันแน่นทำให้น้ำไม่สามารถแยกอนุภาคเม็ดทรายออกจากกัน
นอกจากนี้เม็ดทรายยังมีขนาดใหญ่กว่าช่องว่างระหว่าโมเลกุลของน้ำ
ทำให้ไม่สามารถแทรกเข้าไปอยู่ได้ ระดับน้ำในแก้วจึงสูงขึ้น
เมื่อให้ความร้อนกับน้ำเกลือและน้ำเชื่อมไปเรื่อยๆ
จนน้ำเปลี่ยนจากสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอน้ำ (เรียกว่าการระเหย)
เราจะสังเกตเห็นผลึกเกลือและน้ำตาลที่เหลืออยู่ แสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว
เกลือและน้ำตาลไม่ได้หายไปไหน
ในน้ำทะเลมีเกลืออยู่มาก เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดย
การทำน้ำให้ระเหยออกไปด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ สุดก็จะเหลือไว้แต่เม็ดเกลือมี่เป็นผลึกขาวหรือเกลือสมุทร
คำแนะนำอาจารย์
อาจารย์แนะนำวิธีการสอน
กระบวนการทดลอง ต้องมี
1.การกำหนดปัญหา คือ เป็นการตั้งคำถามกับเด็ก คำถามต้องท้าวความตั้งแต่เริ่มต้นของการทดลอง
2.การตั้งสมมติฐาน
3.การตรวจสอบสมมติฐาน
4.การแปรผลและสรุปผลการทดลอง
รูปภาพประกอบ
กิจกรรมที่ สอง แรงตึงผิวของน้ำ
เริ่มแรกอาจารย์ให้นักศึกษาออกไปหาขวดน้ำดื่มที่มีขนาดรูปร่างเป้นแบบเดียวกันทั้งหมด
จากนั้นอาจารย์ก้ได้ให้เอาขวดน้ำมาตัด ให้ทุกกลุ่มเอาน้ำใส่ขวดน้ำที่ตัดแล้วให้ปริ่มกับขอบแก้ว อาจารยืได้ให้นักศึกาานำเหรียญออกมาให้มากที่สุด จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำเหรียญหย่อนลงไปเบาๆแล้วสังเกตว่าน้ำในแก้วมันล้นออกมาหรือไม่ อาจารย์ถาม ถ้าใส่เหรียญจะต้องใส่เหรียญกี่บาทน้ำในแก้วถึงจะล้น คาดว่าอีกกี่เหรียญ กลุ่มดิฉันใส่เพิ่มอีก 6 เหรียญ น้ำไม้ล้น ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน จากนั้นรวมกลุ่ม จาก 6 กลุ่มเป็น 3 กลุ่ม และตั้งไว้ว่าจะหย่อนเหรียญลงไปกี่บาท อาจารย์ถาม คิดว่าจะใส่อีกเท่าไหร่ กลุ่มดิฉัน 23 บาท ก็ยังไม่ล้น สุดที่ 52 บาทก็ยังไม่ล้น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น.....
แรงตึงผิว คือแรงต้านที่ผิวหน้าของของเหลว เป็นการเกาะติดระหว่างโมเลกุลที่ผิวของเหลว ของเหลวที่มีแรงตึงผิวสูง จะมีแรงเกาะติดระหว่างโมเลกุลมาก ทำให้ควบคุมรูปร่างให้มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรน้อยที่สุด เป็นทรงกลม ทรงหยด
รูปภาพระหว่างการทำกิจกรรม
คำศัพท์
1.Water น้ำ
2.Hypothesis สมมติฐาน
3.Surface film แรงต้านผิวน้ำ
4.Surface force แรงเกาะติด
5.Area พื้นที่
การประเมิน
อาจารย์ ให้คำแนะนำได้ดี และให้ความรู้ได้อย่างครบถ้วน
นักศึกษา ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดทำให้
ตนเอง ตั้งใจรับฟังและนำไปใช้
ผู้บันทึก
นางสาวณัฏฐา กล้าการนา
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น