วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การทำของเล่นด้วยน้ำ

เทอร์นาโดในขวดน้ำ 
วิธีการทำ






สรุป การเรียนรู้ 
เรื่อง เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์


บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 

วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
ห้องเรียน 34-501 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ในคาบเรียนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  ในคาบนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำสื่อของเล่นงานกลุ่มมาส่งและนำเสนอ มีทั้งหมด 4 กลุ่ม
1.กลุ่มน้ำ
2.กลุ่มกลไก
3.กลุ่มหินดินทราย
4.แสง


ในการออกมานำเสนอ จะต้องบอกวิธีการเล่น
โดยกลุ่มของดิฉันทำเครื่องกดน้ำ โดยเปิดฝาขวด หลักการคือ แรงดันอากาศ และอากาศมีอยู่ทุกที่ เพียงแต่อากาศในหลอดสู้อากาศจากการฝาขวดที่เปิดไม่ได้ น้ำเลยไหล ลงมา

และเพื่อนกลุ่มอื่นๆก้ได้แนะนำสื่อของกลุ่มตนเอง
อาจารย์ก้ได่้ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง







คำศัพท์
1.Group Work งานกลุ่ม
2.Present   นำเสนอ
3.Learning การเรียนรู้
4.Toy ของเล่น
5.Time   เวลา



การประเมิน
ประเมินอาจารย์   ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง
ประเมินเพื่อน   มีการพัฒนายิ่งขึ้น
ประเมินตนเอง   รับฟังข่อติชมและคำแนะนำ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 

วันศุกร์ ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2562
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
ห้องเรียน 34-501 เวลา 08.30-12.30



ในคาบเรียนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานที่เป็นของเล่น เป็นงานเดี่ยว โดยให้นักศึกษาแจ่ละคนออกมานำเสนอของเล่นของตนเอง โดยบอกวิธีกสนทำ วิธีการเล่น

ของเล่นดิฉันทำเกี่ยวกับเทอร์นาโดในขวดน้ำ
เมื่อเราหมุนขวดน้ำเกิดแรงกระแทกและหมุนตัวทำให้เกิดช่องว่างระหว่่างปากขวดทำให้น้ำไหลลงมาเป็นน้ำหมุน


รูปขณะปฏิบัติกิจกรรม











คำศัพท์
1.Toy ของเล่น
2.Doing  การทำ
3.Class ชั้นเรียน
4.Evaluation  การประเมิน
5.Present   นำเสนอ

การประเมิน 
ประเมินอาจารย์   อาจารย์สนใจและแนะนำวิธีที่ถูกอธิบายฝห้กับทุกคน
ประเมินเพื่อน   เพื่อนตั้งใจฟังเป็นบางส่วน
ประเมินตนเอง   ในการนำเสนอถือว่าพอใช้
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2562
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา  สุชสำราญ
ห้องเรียน 34-501 เวลาเรียน 08.30-12.30





ในคาบเรียนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้เพื่อนอีก 3 กลุ่ม ได้ออกไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองให้มูลนิธิชุมชนเสือใหญ่

กลุ่มของดิฉันได้ทำการแบ่งกลุ่ม คอยอำนวยความสะดวกให้กับเพื่อนๆที่ทำการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก

และท้ายกิจกรรม ก็ให้เด็กๆได้ทำของเล่น จากกระดาษ เฮลีคอปเตอร์ เพื่อนเป็นชิ้นงานให้เด็กได้นำกลับบ้าน

รูปขณะปฏิบัติกิจกรรม






คำศัพท์
1.Foundation   มูลนิธิ
2.Teach  สอน
3.Kid  เด็ก
4.Trial   การทดลอง
5.Learning  การเรียน

การประเมิน
ประเมินอาจารย์   อาจารย์ตรงต่อเวลา
ประเมินเพิื่อน   เพื่อนทำกิจกรรมอย่างทุ่มเม
ประเมินตนเอง   ทำกิจกรรมอย่างดี

บันทึกกาเรียนครั้งที่ 11 

วันศุกร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2562
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
ห้องเรียน 34-501 เวลาเรียน 08.30-12.30



ในคาบการจัดประสบการณืทางวิทยาศาสตรืสำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการเรียนในวันนี้ จากนั้นอาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน
อาจารย์แจกกระดาษบรูฟให้กลุ่มละ 1 แผ่น แล้วให้ระดมความคิด คิดหัวข้อ
กลุ่มดิฉันทำในเรื่อง ดอกไม้ โดยแตกปีกออกเป็น


-ชนิด
-ลักษณะ
-การดูแลรักษา
-แหล่งที่พบเห้น
-ประโยชน์
โดยทำเสร้จอาจารย์ก็ได้แนะนำ การทำมายแมป

จากนั้นอาจารย์ก้ได้แจกกระดาษบรูฟอีกกลุ่มละ 1 แผ่นครั้งนี้ให้นักศึกษาทำมายแมบหน่วยดอกไม้ และแตกออกเป็ยวันจันทร์ - วันศุกร์ และแต่ละวันก็แตกเป็นกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม และให้เรานำหัวข้อทั้ง 5 หัวข้อใส่ลงในกิจกรรมเสริมประสบการณ์



และสุดท้าย อาจารย์ได้แจกกระดาษบรูฟ และเลือกหัวข้อมา 1 วัน เช่น ประโยชน์ของดอกไม้ และก็เขียนการบูรณาการทั้ง 6 สาระการเรียนรู้  และให้อาจารย์ตรวจก่อนหมดคาบการเรียน






หัวข้อในวันนี้มี 
1.หน่วยข้าว
2.หน่วยดอกไม้ล
3.หน่วยต้นกลัวย
4.หน่วยไข่

รูปขณะปฏิบัติกิจกรรม


คำศัพท์
1.Egg ไข่
2.Rice  ข้าว
3.Flower  ดอกไม้
4.Banana  กล้วย
5.Prent  นำเสนอ


การประเมิน
ประเมินอาจารย์   อาจารยืตรงต่อเวลา
ประเมินเพื่อน   รับฟังอย่างตั้งใจ
ประเมินตนเอง ได้รับความรู้ในขั้นตอนการทำแผน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วัน ศุกร์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2562
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
ห้องเรียน 34-501 เวลาเรียน 08.30-12.30





    ในคาบเรียนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ในคาบนี้ อาจารย์ได้ในนักศึกษาไปรวมกันที่ มูลนิธิชุมชนเสือใหญ่ เพื่อที่จะให้นักศึกษา สามกลุ่มได้ทำการสอนในเรื่องวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลอง
     เมื่อเข้าไปเด็กๆได้ทำกิจกรรมประจำตอนเช้า  เข้าแถว สวดมนต์ ออกกำลังกาย จากนั้นเพื่อนๆอีกสามกลุ่ม ได้พาไปกิจกรรมด้านนอกเพื่อให้เพื่อนอีกสามกลุ่มได้จัดเตรียมสถานที่ ก่อนที่เด็กจะได้รับความรู้



เมื่อจัดสถานที่เสร็จ เพื่อนๆก็ได้นำเด็ก มาเข้าฐาน มีสามฐาน ดังนี้
1.ฐานการละลาย
2.ฐานแสงและเงา
3.ฐานการตึงผิว

กลุ่มของดิฉันทำการทดลองเรื่อง การละลาย โดยมีกระบวนการสอน 5 ขั้น ดังนี้
1.กำหนดขอลเขตของปัญหา
    ครูและเด็กร่วมกัยตั้งประเด็น
    เริ่มต้น ด้วยการตั้งคำถาม
2.การตั้งสมมติฐาน
    ครูและเด็กตั้งสมมติฐาน
3.ทดลองและเก็บข้อมุล
    ครูและเด็กร่วมดำเนินตามแผนการ
4. วิเคราะข้อมูล
    สนทนาแลกเปลี่ยน
5.สรุปผลคำตอบสมมติฐาน
    ผลที่เกิดขึ้น เพราะอะไร ทำไม



และช่วงสุดท้าย ได้ให้เด็กทำชิ้นงานโดยทำปากขยับ แล้วให้เด็กวาดภาพระบายสี
และให้เด็กเข้าแถวก่อนไปทานข้าว
อาจารย์จินตนาได้สะท้อนความรู้ของเด็กโดยการตั้งคำถาม กระตุ้นให้เด็กได้คิด


รูปขณะปฏิบัติกิจกรรม









คำศัพท์
1.Foundation   มูลนิธิ
2.Teach    สอน
3.Trial   การทดลอง
4.Evaluation  การประเมิน
5.Command    คำสั่ง

การประเมิน
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ได้ช่วยแนะนำข้อมูลที่ถูกต้องให้กับเด็ก
ประเมินเพื่อน  :  เพื่อนมีความสนใจในการทำกิจกรรม
ประเมินตนเอง  :   ทำการทดลองได้อย่างเต็มความสามารถ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2562
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
ห้อง 34-301


           ในการเรียนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ในคาบนี้ต้นคาบอาจารย์ได้พูดทักทายนักศึกษาก่อนที่จะพูดอธิบายการเรียนในวันนี้
           อาจารย์ให้กระดาษ a4 กับนักศึกษา คนละ 1 แผ่น โดย สองชิ้นแรกอาจารย์เป็นผู้สาธิตการทำ
ชิ้นที่ 1


ชิ้นที่ 2


         ส่วนชิ้นที่ 3 อาจารย์ให้นักศึกษาคิดของเล่นที่ทำจากกระดาษที่เหลือ โดยไม่ให้ซ้ำกันและสามารถนำมาสอนเด็กในสาระวิทย์ศาสตร์ได้

ในช่วงท้ายคาบ
อาจารย์ได้ให้กลุ่มที่จะออกไปสอนเด็กในเรื่องการทดลอง ให้ออกมานำเสนอเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะออกไปจัดประสบการณ์จริงให้กับเด็กเพื่อที่ จะได้นำความรู้ที่ถูกต้องไปสอนเด็ก
โดย กลุ่มที่จะไปทำการทดลอง มีเรื่อง การละลายของเกลือ แรงตึกผิว แสงและเงา



คำศัพท์
1 Test       การทดลอง
2 Suggestion     คำแนะนำ
3 Research    ค้นหา
4 Group Work    งานกลุ่ม
5 Science  วิทยาศาสตร์
การประเมิน
ประเมินอาจารย์   : อาจารย์ให้ความรู้ได้อย่างครบถ้วน
ประเมินเพื่อน   :  เพิ่อนๆตั้งใจฟังที่เพื่อนและอาจารย์อธิบาย
ประเมินตนเอง :   สนใจและรับฟังคำแนะนำที่อาจารย์บอก

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่

วันศุกร์ ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562 
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
ห้องเรียน 34-301 เวลาเรียน 08.30-12.30


คาบเรียนนี้อาจารย์ได้บอกถึงลายละเอียดในการไปทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตรืที่ ศูนย์เด็กเล็กปฐมวัยชุมชนเสือใหญ่ อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มเดิมทำโครงการเพื่อที่จะได้มีลายลักษณ์อักษรในการไปทำกิจกรรมครั้งนี้ และให้นักศึกษาส่งความคืบหน้าในกระดาน Padlet

รูปภาพภายในห้องเรียน 





ผู้บันทึก 
นางสาวณัฏฐา กล้าการนา 
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562 
อาจารย์ผู้สอน ดร.จิตนา สุขสำราญ
ห้องเรียน 34-301 เวลาเรียน 08.30-12.30


คาบนี้นักศึกษาทุกกลุ่มได้เตรียมตัวมาพรีเซนต์การทดลองของตนเองที่ได้เลือกไว้ โดยอาจารย์จะคอยนั่งดูและให้คำแนะนำนักศึกษา โดยจะมีเพื่อนคอยมาเป็นเด็กนักเรียน คอยมาทำการทดลองของเพื่อนแต่ละกลุ่ม พอพรีเซต์เสร็จอาจารย์ก็จะเสนอแนะเลยเพราะถ้าปล่อยไปอาจจะนำเทคนิกที่สอนในวันนี้ไปสอนเด็กในอนาคตอาจารย์จึงต้องรีบแก้ไขและบอกเทคนิคที่ถูกต้องให้กับนักศึกษาอย่างเร่งดวน และวันที่ 11 ตุลาคม นักศึกษาทุกกลุ่มต้องไปลงทำกิจกรรมกับเด็กๆที่ ศูนย์เด็กปฐมวัยชุมชนเสือใหญ่


กลุ่มของข้าพเจ้าทำการทดลองเรื่อง

เรื่องน้ำ

ปรากฏการณ์    การละลาย
สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เกลือและน้ำตาลละลายน้ำได้ดีราวกับว่ามันหายไปในน้ำแต่แท้ที่จริงแล้วเกลือและน้ำตาลไม่ได้หายไปไหน ทดลองด้วยการชิมรสชาติของน้ำซึ่งจะเปลี่ยนไปตา ตัวถูกละลายเมื่อเด็กๆเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดตามชายทะเลจะเห็นนาเกลือ เกลือเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ภาพรวมการทดลอง
น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี เด็กๆสามารถเรียนรู้ได้จากการนำเกลือมาละลายน้ำ ซึ่งเกลือจะละลายน้ำได้ แต่เมื่อนำทรายปริมาณเท่ากันมาใส่ในน้ำ จะพบว่าทรายไม่ละลายน้ำและให้ทดลองนำน้ำเกลือกลับคืนมาเป็นผลึกเกลืออีกครั้ง
วัสดุอุปกรณ์
 สำหรับการทกลองรวม
-ถ้วยตวง ขวดเปล่าสำหรับใส่น้ำ
 -ช้อนสำหรับตักทรายและเกลือ
-ปากกาเคมี
-ทราย
-น้ำอุ่น
-เกลือ
สำหรับเด็ก 2-3 คน
-แก้วน้ำขนาดเท่ากัน 2 ใบ
-ช้อนชา 1 คัน
 -กล่องกระดาษหรือชาม สำหรับใส่ทราบและเกลือ 2 ใบ
สำหรับการทดลองเพิ่มเติม
-ภาชนะแบนขนาดใหญ่ เช่นจานรองกระถางต้นไม้
-ถาดรองที่ทนไฟได้ เช่น เซรามิก
-ช้อนชาและไม่หนีบผ้า
-เทียนเล่มเล็กและไฟแช็ก
(รูปที่ 1)
แนวคิดหลักของการทดลอง
-น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีมาก เกลือและน้ำตาล (ตัวถูกละลาย) ละลายได้ดีในน้ำ ทรายไม่ละลายน้ำ
-การระเหยน้ำออกมาสามารถแยกเกลือหรือน้ำตาลออกจากน้ำได้
เริ่มต้นจาก
 -ให้เด็กๆนำสิ่งของหรือวัสดุต่างที่คิดว่าสามารถลพลายนำได้มาจากบ้าน โดยให้เด็กทำการทดลองเอง
-สำหรับการทดลองที่เตรียมไว้ให้เด็กนั้นให้เด็กๆช่วยกันล้างทำความสะอาด และไม่ควรเทน้ำล้างทรายทิ้งลงท่อน้ำ แต่ให้เทลงบนดิน เพื่อนป้องกันการอุดตัน
 -ให้เด็กๆตวงทรายและเกลือ 2-3ช้อน ชา และเทแยกกันลงบนกระดาษหรือถ้วยที่เตรียมไว้ เพื่อจะได้เห็นว่ามีเกลือปริมาณเท่าใดที่ละลายน้ำได้
-เทน้ำอุ่นลงในแก้วสองใบที่เตรียมไว้ให้มีปริมาณเท่ากันอย่างน้อยครึ่งแก้ว หลังจากนั้นใช้ปากกาเคมีขีดบอกระดับน้ำไว้บนแก้ว (รูปที่ 2)
ทดลองต่อไป
-ถามว่า ระดับน้ำในแก้วจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เมื่อเททรายลงไป หลังจากเด็กตอบ ให้เด็กตักทรายใส่ลงมนแก้วใบแรกทีละช้อน
-ถามเด็กๆว่าระดับน้ำจะสูงขึ้นหรือไม่เมื่อเทเกลือใส่ลงไปหลังจากนั้นให้เด็กตักเกลือใส่ลงไปในแก้วใบที่สองทีละช้อน พร้อมกับคนให้เข้ากันเพื่อให้เกลือละลายน้ำ (รูปที่ 3)
-เมื่อเกลือละลายน้ำหมดแล้วให้เด็กๆนำแก้วทั้งสองใบมาวางตั้งไว้ข้างๆกันเพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำ  
(รูปที่ 4 )
-ถามเด็กๆว่าเกลือที่ใส่ลงไปอยู่ที่ไหน
ตัวทำละลาย
เกิดอะไรขึ้น
ตามธรรมชาติแล้วทรายจะไม่ละลายน้ำแต่จะทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น โดยทรายจะแรกเข้าไปแทนที่น้ำ (ตกตะกอน) และดันน้ำให้สูงขึ้น
เกลือละลายได้อย่างรวดเร็วในน้ำอุ่น เมื่อเกลือละลายน้ำจนหมด ระดับน้ำก็ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อใส่เกลือเพิ่มจนไม่สามารถละลายได้อีกเพราะน้ำอิ่มตัว ระดับน้ำจะสูงขึ้น
คำแนะนำ
น้ำเกลือที่ละลายน้ำแล้วนั้นไม่ต้องเททิ้ง ให้รินลงบนภาชนะแบนที่เตรียมไว้ แล้วนำไปวางไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง (เช่น กลางแดด) ตั้งทิ้งไว้สักครู่เด็กๆจะเห็นผลึกเกลือปรากฏขึ้น
อาจนำน้ำเกลือใส่ในช้อนกระเบื้องทนไฟแล้ววางลงเปลวไฟจากเทียน เพื่อให้การระเหยออกไป
เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วได้รับอันตรายจากความร้อนให้ใช้ไม้หนีบผ้าหนีบช้อนไว้ (รูปที่ 5) น้ำจะระเหยอย่างรวดเร็วและสีผลึกเกลือเกิดขึ้น สามารถนำน้ำตาลมาทดแทนเกลือได้ เมื่อนำน้ำตาลมาปริมาณเท่ากับเกลือมาละลายน้ำระดับน้ำจะสูงขึ้นเนื่องจากผลึกน้ำตาลมีขนาดใหญ่กว่าผลึกเกลือ ทำให้สารละลายอิ่มตัวได้เร็วกว่า
ทำไมเป็นเช่นนั้น
เม็ดเกลือ 1 เม็ดประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆมากมายซึ่งเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เมื่อเกลือสัมผัสกับน้ำ เม็ดเกลือเล็กๆที่จับตัวกันอยู่จะแยกออกจากกัน
น้ำเกิดการยึดเหนี่ยวกันของโมเลกุล น้ำหลายโมเลกุลซึ่งทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกัน เม็ดเกลือมีขนาดเล็กจึงสามารถแทรกเข้าไปอยู่ในช่องน้ำได้
 น้ำเปรียบเสมือนบ้านขนาดใหญ่ที่มีห้องจำนวนมากเมื่อมีคนย้ายเข้ามาเรื่อยๆ ขนาดของบ้านไม่ใหญ่ขึ้นตามจำนวนคน เมื่อมองจากภายนอกไม่สามารถมองเห็นได้ว่ามีคนอยู่ในบ้านหรือไม่ เช่นเดียวกับน้ำ เมื่อเม็ดเกลือแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลของน้ำ ขนาดของน้ำไม่ใหญ่ขึ้นตาม ทำให้ระดับน้ำแทบไม่เปลี่ยนแปลง
ในทางตรงกันข้าม เม็ดทรายจับคัวกันแน่นทำให้น้ำไม่สามารถแยกอนุภาคเม็ดทรายออกจากกัน
นอกจากนี้เม็ดทรายยังมีขนาดใหญ่กว่าช่องว่างระหว่าโมเลกุลของน้ำ ทำให้ไม่สามารถแทรกเข้าไปอยู่ได้ ระดับน้ำในแก้วจึงสูงขึ้น
เมื่อให้ความร้อนกับน้ำเกลือและน้ำเชื่อมไปเรื่อยๆ จนน้ำเปลี่ยนจากสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอน้ำ (เรียกว่าการระเหย) เราจะสังเกตเห็นผลึกเกลือและน้ำตาลที่เหลืออยู่ แสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว เกลือและน้ำตาลไม่ได้หายไปไหน
 ในน้ำทะเลมีเกลืออยู่มาก เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดย การทำน้ำให้ระเหยออกไปด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ สุดก็จะเหลือไว้แต่เม็ดเกลือมี่เป็นผลึกขาวหรือเกลือสมุทร


คำแนะนำอาจารย์ 
อาจารย์แนะนำวิธีการสอน
กระบวนการทดลอง ต้องมี 
1.การกำหนดปัญหา คือ เป็นการตั้งคำถามกับเด็ก คำถามต้องท้าวความตั้งแต่เริ่มต้นของการทดลอง 
2.การตั้งสมมติฐาน
3.การตรวจสอบสมมติฐาน
4.การแปรผลและสรุปผลการทดลอง


รูปภาพประกอบ 


กิจกรรมที่ สอง แรงตึงผิวของน้ำ 
เริ่มแรกอาจารย์ให้นักศึกษาออกไปหาขวดน้ำดื่มที่มีขนาดรูปร่างเป้นแบบเดียวกันทั้งหมด
จากนั้นอาจารย์ก้ได้ให้เอาขวดน้ำมาตัด ให้ทุกกลุ่มเอาน้ำใส่ขวดน้ำที่ตัดแล้วให้ปริ่มกับขอบแก้ว อาจารยืได้ให้นักศึกาานำเหรียญออกมาให้มากที่สุด จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำเหรียญหย่อนลงไปเบาๆแล้วสังเกตว่าน้ำในแก้วมันล้นออกมาหรือไม่ อาจารย์ถาม ถ้าใส่เหรียญจะต้องใส่เหรียญกี่บาทน้ำในแก้วถึงจะล้น คาดว่าอีกกี่เหรียญ  กลุ่มดิฉันใส่เพิ่มอีก 6 เหรียญ น้ำไม้ล้น ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน จากนั้นรวมกลุ่ม จาก 6 กลุ่มเป็น 3 กลุ่ม และตั้งไว้ว่าจะหย่อนเหรียญลงไปกี่บาท อาจารย์ถาม คิดว่าจะใส่อีกเท่าไหร่ กลุ่มดิฉัน 23 บาท ก็ยังไม่ล้น สุดที่ 52 บาทก็ยังไม่ล้น 

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น.....
แรงตึงผิว คือแรงต้านที่ผิวหน้าของของเหลว เป็นการเกาะติดระหว่างโมเลกุลที่ผิวของเหลว ของเหลวที่มีแรงตึงผิวสูง จะมีแรงเกาะติดระหว่างโมเลกุลมาก ทำให้ควบคุมรูปร่างให้มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรน้อยที่สุด เป็นทรงกลม ทรงหยด 
รูปภาพระหว่างการทำกิจกรรม





คำศัพท์ 
1.Water               น้ำ 
2.Hypothesis       สมมติฐาน
3.Surface film     แรงต้านผิวน้ำ 
4.Surface force    แรงเกาะติด
5.Area                  พื้นที่ 


การประเมิน 
อาจารย์     ให้คำแนะนำได้ดี และให้ความรู้ได้อย่างครบถ้วน
นักศึกษา    ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดทำให้
ตนเอง        ตั้งใจรับฟังและนำไปใช้


ผู้บันทึก
นางสาวณัฏฐา  กล้าการนา 
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย




บันทึการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ.2562 
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
ห้องเรียน 34-301 เวลาเรียน 08.30-12.30



วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาอกมานำเสนอการทดลองที่แต่ละกลุ่มได้เลือกไว้ อาจารย์ได้อธิบายวิธีการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนการพูด อาจารย์ได้พูดถึงทักษะทางวิทยาศาสตร์ 

ทักษะทางวิทยาศาตร์ 
 ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation)
ความหมาย : เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การดม การฟัง การชิม และการสัมผัส ทั้งนี้โดยไม่ใส่ความเห็นหรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตลงไป
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเป็น ข้อมูลเชิงประจักษ์
 
     ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement)
ความหมาย : เป็นการเลือกและการใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้เหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกํากับเสมอ
 ทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือนความแตกต่าง ความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
     ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่างความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
    แกมมาออริซานอล Gamma Oryzanol มีคุณสมบัติดังนี้
     ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number)
ความหมาย : เป็นการนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวน โดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย

     ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)
ความหมาย : เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยการหาความถี่เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นดีขึ้น โดยการนำเสนอในรูปของตารางแผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟสมการ หรือการเขียนบรรยาย

     ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
ความหมาย : เป็นการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาช่วย

     ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction)
ความหมาย : เป็นการาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์ที่เกิดซํ้า ๆ หลักการ กฏ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป เช่น การพยากรณ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเลข ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตาราง หรือ กราฟ ซึ่งทำได้ 2 แบบ คือ
1. การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูล
2. การพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล

     ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
ความหมาย : เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัยการสังเกตความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นฐาน

     ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)
ความหมาย : เป็นการกําหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตได้หรือวัดได้ โดยให้คำตอบเกี่ยวกับการทดลองและบอกวิธีวัด
ตัวแปรที่เกี่ยวกับการทดลองนั้น

     ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)
ความหมาย : เป็นการบ่งชี้ตัวแปนต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในการตั้ง สมมติฐานหนึ่งๆ

     ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment)
ความหมาย : เป็นกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ในการทดลอง ซี่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การออกแบบการทดลอง
2. การปฏิบัติการทดลอง
3. การบันทึกผลการทดลอง

     ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making)
ความหมาย : เป็นการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายของข้อมูล ในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ ด้วย เช่น การสังเกต การคำนวน เป็นต้น และการลงข้อสรุป หมายถึง การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด การลงข้อสรุป สามารถทำได้ 2 ระดับ คือ
1. การสรุปในระดับแคบ คือ การสรุปให้อยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างหรือสิ่งที่นำมาศึกษา
2. การสรุปในระดับกว้าง คือ การสรุปที่ออกนอกขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างแต่เป็นการขยายกว้างไปสู่ประชากรหรือกลุ่มใหญ่ ข้อสรุปนี้มีความเชื่อถือได้น้อยกว่าแบบแรก


จากนั้น....................
อาจารย์ได้ให้นักศึกษานั่งจับกลุ่ม โดยอาจารย์แจกกระดาษกลุ่มละ 1 แผ่น ให้ช่วยกันวาดแหล่งน้ำที่ตนเองอละเพื่อนๆรู้จักโดยไม่บอกชื่อ ให้เพื่อนทายว่าแหล่งน้ำที่เราวาดคืออยู่ที่ไหน กิจกรรมนี้ ได้ฝึกการทำงานร่วมกันกับเพื่อน ได้มีการนำประสบการณืเดิมมาใช้ ได้สังเกตของเพื่อนแต่ละกลุ่ม 



พอวาดรูปเสร็จอาจารย์ก็ได้นำกระดาษหนังสือพิมพ์มาแจกให้นักศึกษากลุ่มละ 5 แผ่น โดยอาจารย์บอกว่า เมื่อมีแหล่งน้ำแล้วเราต้องสร้างที่กีกเก็บน้ำดดยการให้นักศึกษาสร้างแท้งน้ำ โดยการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ 5 แผ่น กาวหนังไก่ ดดยกำหนดว่า ความสูงต้องเกิน 5 ฝ่ามือขึ้นไป (จะมีฝ่ามือกระดาษที่อาจารย์ได้ทำไว้ให้แล่้ว) 
กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำกระดาษหนังสือพิมพ์มาม้วนเป้นแท่งเล็กๆ แล้วพันด้วยกาวหนังไก่จนแน่น แล้วทำปุ้มข้างบนเพื่อจะวางพานไม่ให้ล้ม 




เพื่อนแต่ละกลุ่มได้สร้างสรรค์แท้งน้ำของตนเองออกมาได้อย่างแข็งแรง 
และการทดสอบก็ได้เริ่มขึ้น อาจารย์อยากรู้ว่าแท้งน้ำของกลุ่มใดแข็งแรงที่สุดอาจารย์เลยนำ กระเป๋าดินสอวางใส่พานลงไปอีกชั้น เพื่อทดสอบความแข็งแรง ทุกกลุ่มผ่านไปได้ และอาจารย์ได้เพิ่มน้ำหนักขึ้น เป็นกระปุกกาว และขวดน้ำส้มสายชู และสุดท้าย ขวดน้ำส้มสาชูกับกระปุกกาวสองอย่างรวมกัน จะเห้นได้ว่า ฐานของแท้งน้ำแต่ละกลุ่มไม่แข็งแรงพอพี่จะรับน้ำหนักไหว 
แต่มี สองกลุ่มที่รับน้ำหรักไหว เพราะ อีกกลุ่มฐานของแท้งใหญ่และปุ้มพอเหมาะกับตูดพาน ส่วนอีกกลุ่ม ได้มีปากกาดามขาไว้ 

จะเห็นได้ว่า การทำงานร่วมกันต้องอาศัยความเข้าใจ การร่วมมือร่วมใจของคนในกลุ่มเป้นอย่างมาก 

และกิจกรรมในคาบนี้ ได้เรียนรู้ทั้งทางด้าน สังเกต เปรียบเทียบ การใช้ประสบการณ์เดิมเข้ามาช่วย 

รูปขณะทำกิจกรรม






คำศัพท์ 
1.Light        แสง
2.Basic        พื้นฐาน
3.Artificial   ประดิษฐ์
4.Test         การทดลอง
5.Compare เปรียบเทียบ

การประเมิน 
อาจารย์     อาจารย์สนใจและคอยให้คำแนะนำนักศึกษาได้เป็นอย่างดี 
นักศึกษา    ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานและมีการช่วยเหลือกันและกัน 
ตนเอง       ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ได้เตรียมมาให้ 



ผู้บันทึก
นางสาวณัฏฐา กล้าการนา 
สาขาการศึกษาปฐมวัย